มิติจิตใจในงานคุณภาพโรงพยาบาล

   
โรง พยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพ นับได้ว่าเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ผู้รับบริการมีความคาดหวังค่อนข้างสูงในการ รับบริการความคาดหวังเหล่านี้ เป็นความต้องการจากการหายจากโรคและการเจ็บป่วยที่เผชิญอยู่ รวมถึงผสมผสานกับความต้องการในมิติทางจิตใจ ในยามที่ผู้ป่วยเกิดสภาวะหมดหวัง ท้อแท้ หรือสูญเสียความคาดหวังหรือความต้องการเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันออกไปใน แต่ละบุคคล

          ผู้ ป่วยเหล่านี้นอกเหนือจากการรักษาพยาบาลทางด้านร่างกายแล้ว ยังต้องการเยียวยาด้านจิตใจด้วยเช่นกัน มิติที่ละเอียดอ่อนเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ครอบครัว ญาติ รวมทั้งผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาลจะต้องเข้าใจ

          ใน ขณะเดียวกันทางฝ่ายผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ หรือให้การรักษาพยาบาลเอง ทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกระดับ เมื่อเผชิญกับภาระงานที่มีมากขึ้น เผชิญกับความคาดหวังที่สูงขึ้นของประชาชนเอง ก็เกิดภาวะความเครียด ความกดดัน และท้อถอยการทำงานจึงไม่มีความสุข

          ระบบของโรงพยาบาลที่วางไว้เพื่อให้การดูแลร่างกายผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ปลอดภัย เหมาะสม และรวดเร็ว อาจจะยังไม่เพียงพอกระมัง

          สถาบัน รับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล มีการพัฒนาระบบคุณภาพงาน โดยวิเคราะห์จากทรัพยากรที่มีอยู่ สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในสังคมนั้นๆ เพื่อให้ผู้ป่วย ญาติ และประชาชนได้รับการบริการได้ดีที่สุด มีความปลอดภัยมากที่สุด ในขณะเดียวกันกับผู้ให้บริการเองก็ควรจะมีความสุขจากการทำงานนั้นด้วยเรื่อง ราวการนำ "มิติจิตใจ" เข้ามาผสมผสาน บูรณาการในงานคุณภาพ จึงได้ริเริ่มขึ้น ภายใต้โครงการ "การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน" (SHA)โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

          ภาพ ที่ต้องการเห็น คือ "สถานบริการสุขภาพ มีการบริการที่มีความปลอดภัยเป็นพื้นฐาน มีมาตรฐานวิชาชีพ มีระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล และหล่อหลอมด้วยการบริการด้วยมิติจิตใจ อันได้แก่ ความเมตตา ความรัก ความเอื้อเฟื้อ การให้อภัยอันเป็นพื้นฐานและวัฒนธรรมที่ดีงามดั้งเดิมของคนไทยมาผสมผสานใน งานบริการ รวมทั้งน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการทำงาน เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์สังคมไทยให้โดดเด่น" แนวคิดเรื่อง Humanized Health Care หรือการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ตามที่ ศ.นพ.ประเวศวะสี ได้ให้แนวทางไว้ จึงถูกนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

          การ ที่จะนำมิติด้านจิตใจมาผสมผสานในงานบริการ หรืองานคุณภาพโรงพยาบาลนั้น ต้องใช้มุมมองเชิงบวก ใช้ใจ สัมผัสใจและมองซึ่งกันและกันด้วยความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ เช่นมองว่าคนไข้คนนี้เคยเป็นครู เคยเป็นผู้เสียสละสั่งสอนลูกศิษย์หลายสิบหลายร้อยคน เคยทำประโยชน์ให้แก่สังคมมากมาย การใช้มุมมองโดยเน้น "คุณค่า" ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนี้ จะทำให้การบริการมีความอ่อนโยน มีความเมตตากรุณามากขึ้น ผู้ให้บริการก็จะเกิดความปีติยินดีที่มีส่วนทำให้คนที่ดีคนหนึ่ง มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

          การ สร้างมิตรด้านจิตใจต้องเริ่มที่จากตัวเอง ฝึกความมีเมตตากรุณา รู้จักรัก รู้จักให้อภัย ในปัจจุบันโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง จึงมีกระบวนการฝึกให้บุคลากรใช้ความคิดในเชิงบวก ใช้สติ มีเหตุมีผลฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อให้เกิดความเข้าใจคนอื่นๆ มากขึ้น เห็นคุณค่าและความหมายของชีวิตผู้อื่น หรือการใช้ "เรื่องเล่าทางการแพทย์"(Narrative Medicine) คือ การนำประสบการณ์เรื่องราวการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์กับแง่มุมชีวิตของ ผู้ป่วย มาสื่อสารแลกเปลี่ยนกัน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับรู้ความคิดเรื่องราวชีวิตของผู้ป่วย ในขณะเดียวกันผู้ป่วยเองก็เห็นภาพการทุ่มเททำงานของแพทย์ พยาบาล ที่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่มีโอกาสได้สัมผัส"เรื่องเล่าทางการแพทย์" สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรทางการแพทย์ค้นหาความจริงของชีวิต และทำงานได้โดยมีความปรารถนาและเป้าหมายของตัวเอง

          การ ทำงานคุณภาพโดยใช้มิติจิตใจ คนทำงานจะมองทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยสายตาและความคิดที่เป็นอิสระ มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความหวัง สร้างความสุขในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่นการให้บริการผู้หญิงที่มาคลอด หากใช้มิติความละเอียดอ่อน ใช้มิติจิตใจเข้ามาผสมผสาน ความหมายของการให้บริการแก่ผู้หญิงคลอดก็อาจจะมีมากกว่านั้น

          นายแพทย์ภักดี สืบนุการณ์ จากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ได้ให้ความหมายของคนไข้ที่มาคลอดของโรงพยาบาล ว่า"เป็นโอกาสของครอบครัว ที่จะมีความสุขกับการมีชีวิตใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นความสุข ความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรีของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากผู้หญิงธรรมดามาเป็น แม่"

          ระบบ บริการสำหรับผู้หญิงที่มาคลอดของที่นี่ ออกแบบให้สมกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น เหมาะสมกับศักดิ์ศรีของคนที่จะเป็น "แม่"แท้ที่จริงแล้ว การใช้แนวคิดมิติจิตใจในงานคุณภาพโรงพยาบาลนั้น มาจากพื้นฐานที่คนเราทุกคนเป็นผู้ที่มีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามอยู่ในตัวตน ซึ่งล้วนแต่อยากทำความดี โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลนั้น โดยภาระหน้าที่ คือ ผู้ที่ช่วยเหลือคนอื่นผู้ที่เยียวยาให้กับผู้ป่วย รวมทั้งการบ่มฟัก และสร้างให้ความดีงอกงาม

          จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี และมีคุณค่ายิ่ง สำหรับระบบคุณภาพของประเทศไทย


ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน